มมส ถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ พร้อมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 ภาควิชาการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบ "ถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา นครเรียบ หัวหน้าโครงการฯ นำนิสิต คณาจารย์ ชุมชน ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ จากวิทยากรกลุ่มวิสาหกิจชมชุนผู้ปลูกมันแกว-หัวไชเท้า อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม บรรยายพร้อมสาธิต การเตรียมแปลงปลูกมันแกว การปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวมันแกว เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่นาสีนวน ผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพออกจำหน่ายได้ ตลอดจนให้พื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกวที่มีคุณภาพ และเกิดการหมุนเวียนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ภายในจังหวัดมหาสารคาม
กิจกรรมหลังรับฟังการบรรยาย นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี ชาวบ้านตำบลนาสีนวน และบุคลากรฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมกันปลูกมันแกว ที่แปลงสาธิต ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ก่อนที่จะจัด เสวนา ถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาการแปรรูปมันแกว โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา นครเรียบ หัวหน้าโครงการฯแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ฤทธิไกร ไชยงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและการพัฒนาที่ยั่งยืน ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธนัณชัย สิงห์มาตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ,นางอุดม อาจศิริ หัวหน้ากลุ่มงานยุททธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม , ชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกรตำบลนาสีนวน และ บุคลากรฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นอกจากนี้ทางโครงการการได้มีการพัฒนาและต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันแกวโดย นำมันแกวมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบรสชาติต่าง ๆ เช่น รสชาเขียว,รสชาไทย,รสออริจินัล และยังนำมันแกวมาพัฒนาวิจัยต่อยอดเป็นเครื่องสำอาง เช่น สบู่สครับมันแกว เป็นการเพิ่มมูลค่าของมันแกว ในรูปแบบการแปรรูปที่หลากหลายมากขึ้น
ภาพ/ข่าว : กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
# ด้านบริการวิชาการ (Academic Service)
SDGs: 3 GOAL3-การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being)