MSU Sustainability Development Goals (SDGs)

        การมุ่งเน้นให้สังคมสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะที่ยากจน โดยการให้ความสำคัญกับการให้โอกาสและสิทธิเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการที่จำเป็น เช่น การศึกษา การสุขภาพ และการเข้าถึงงานและรายได้ เพื่อให้ผู้อยู่ในสภาวะที่ยากจนสามารถมีชีวิตที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว โดยไม่เพิ่มภาระแก่สิ่งแวดล้อมหรือสังคมอื่นๆ และเพื่อให้มีการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความยากจนในอนาคต การบูรณาการความยั่งยืนในมุมนี้จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวด้วยกัน

เป้าหมายย่อย 1.1

    ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน

เป้าหมายย่อย 1.2

    ภายในปี พ.ศ. 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

เป้าหมายย่อย 1.3

    ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมระดับประเทศที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงฐาน การคุ้มครองทางสังคม (floors) โดยให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางให้มากพอ ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 1.4

    ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance)

เป้าหมายย่อย 1.5

    ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ที่ยากจนและอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมทั้งลดความเสี่ยงและความล่อแหลมต่อภาวะสภาพอากาศผันผวนรุนแรง การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ

เป้าหมายย่อย 1.A

    สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่าง มีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลาย รวมไปถึงการยกระดับ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีวิธีการที่เพียงพอและคาดการณ์ได้ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ

เป้าหมายย่อย 1.B

    สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender-sensitive) เพื่อส่งเสริมให้มีการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน