MSU Sustainability Development Goals (SDGs)

        การมุ่งหมายที่จะกำจัดความยากจนของคนที่ไม่มีการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมในทุกส่วนของโลก โดยทำให้ทุกคนสามารถมีอาหารเพียงพอและที่มีคุณภาพสูงพอในทุกวัน โดยไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด การพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนนี้มุ่งเน้นการสร้างระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและการแจกจ่ายทรัพยากรอาหารที่เป็นสิ่งจำเป็นให้แก่ผู้ยากจน โดยการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรและการค้าอย่างยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอาหารให้แก่ทุกคนในระยะยาว การป้องกันความเสี่ยงต่อความไม่มีความสามารถทางการเงินและสภาพแวดล้อม และการสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรอาหารและการสนับสนุนอย่างยั่งยืนในการดูแลเด็กและสุขภาพในช่วงเด็กเล็ก ดังนั้น ความหมายของเป้าหมายนี้คือการทำให้ทุกคนสามารถมีอาหารเพียงพอและที่มีคุณภาพสูงพอในทุกวันโดยไม่มีใครต้องพ่ายแพ้ในสายตาของความหิวโหยในระยะยาว โดยการสร้างระบบที่ยั่งยืนและแนวทางการดำเนินงานที่มีผลสำคัญในการขจัดความหิวโหยทั้งในมิติต่างๆ ของประชากรโลก

เป้าหมายย่อย 2.1

    ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปีพ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.2

    ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเปูาหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะเตี้ย (stunting) และแคระแกร็น (wasting) ในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568

เป้าหมายย่อย 2.3

    เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสาหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.4

    สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดาเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.5

    คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 2.A

    เพิ่มการลงทุน ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารเชื้อพันธุ์ (gene bank) ของพืชและสัตว์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

เป้าหมายย่อย 2.B

    แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงทางการขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกทุกแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา

เป้าหมายย่อย 2.C

    เลือกใช้มาตรการที่สร้างหลักประกันได้ว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทางานได้อย่างเหมาะสม และอานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาดและข้อมูลสารองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจากัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง