SEA TEP Project’s University Site Visits and Meeting
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการพัฒนาครูตามมาตรฐานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อพัฒนา วิชาชีพครูโดยใช้องค์ความรู้แนวปฏิบัติการสอน (Core Teaching Practices) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาให้มีสมรรถนะที่พร้อมต่อการเป็นครูมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 24-26,31 กรกฎาคม 2567 และวันที่1,5,8 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมสิกขาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยและพัฒนาโครงการครุศึกษายุคใหม่ หรือ Thailand Strengthening Teacher Education Programme (T-STEP) จาก ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันนี้ (1 สิงหาคม 2567) เวลา 09.00 น.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการ SEA TEP Project’s University Site Visits and Meeting ณ ห้องประชุมสิกขาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยความร่วมมือระหว่างคุรุสภา,ศูนย์ SEAMEO STEM-ED ,มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ,มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงแนวปฏิบัติในการสอนหลักเพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ระดับมืออาชีพที่แข็งแกร่ง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
มีรองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต ชูกำแพง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าววัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกับสถานศึกษาปรับเปลี่ยนหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการวิธีการสอนและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม) และหลักสูตรการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อพัฒนา วิชาชีพครูโดยใช้องค์ความรู้แนวปฏิบัติหลักทางการสอน (Core Teaching Practices) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้นิสิต มีสมรรถนะที่พร้อมต่อการเป็นครูมืออาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในมาตรฐานและจรรยาบรรณของ วิชาชีพแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้เตรียมเข้าสู่วิชาชีพครู ผ่านแนวปฏิบัติหลักทางการสอน กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ภาคเอกชน หน่วยงานระหว่างประเทศ และหน่วยงานทางการศึกษา กับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และสำนักงานสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการพัฒนาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาด้วยแนวปฏิบัติหลักทางการสอน และรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างเป็นระบบและทั่วถึง อีกทั้งเพื่อศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานศึกษา (Talent Mobility) และนำเสนอผลการวิจัยสู่ เพื่อขยายผลรูปแบบและแนวทางการสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบพัฒนาครูสู่คุณภาพสากล
ภาพ/ข่าว : อภิราม ทามแก้ว
ที่มา : คณะศึกษาศาสตร์
# ด้านการผลิตบัณฑิต (Production of Undergraduate and Graduate Student)
SDGs: 4 GOAL4-การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality education)