MSU Sustainability Development Goals (SDGs)

มมส ลงนามความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาด้านเมืองอัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม AR116 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือด้านงานพัฒนาด้านเมืองอัจฉริยะ  ระหว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ กับ บริษัท อินเตอร์คอนเน็ค โซลูชั่น จากัด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวต้อนรับพร้อมร่วมเป็นพยานในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์จารุณีย์ นิมิตศิริวัฒน์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์  และนายกันตพัฒน์ เหลืองเจริญวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์คอนเน็ค โซลูชั่น จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือ มี รองศาสตราจารย์ ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ (Research and Development Unit for Smart City Solution (RDSC))   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณุ ผโลปกรณ์  นายฐาปกรณ์ อินทรศร และนายจักรภัทร เตชะปรีชากร  ลงนามเป็นพยาน โดยความร่วมมือของทั้งสองร่วมกันในการส่งเสริม วิจัยและพัฒนาด้านเมืองอัจฉริยะโดยใช้ประโยชน์จากระบบซอฟท์แวร์แผนที่และส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

สำหรับหน่วยวิจัยและพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ(Research and Development Unit for Smart City Solution (RDSC))   เป็นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยหลักการทั่วไปนั้นจะให้ความสำคัญกับเมืองทั้งในฐานะวัตถุที่ศึกษา (Unit of Analysis) เพื่อการสร้างองค์ความรู้ และในฐานะหน่วยหลักในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ด้วย เหตุนี้การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะรวมไปถึงกับคัดเลือกระบบเทคโนโลยีที่ เหมาะสมให้กับเมืองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยทางคณะวิจัยได้ให้ความสำคัญทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในภาพรวม เช่น แนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎี , กระแสพลวัตรการ เปลี่ยนแปลง , ระบบเทคโนโลยีที่น่าสนใจ รวมไปถึงบริบทต่างๆ ด้าน Digital Landscape แล้ว ยังให้ความสำคัญด้านการให้ความรู้ความเข้าใจบนพื้นฐานของเงื่อนไขและสภาพปัญหาเฉพาะในแต่ละพื้นที่ ด้วย เพราะแต่ละเมืองต่างก็เผชิญโจทย์ความท้าทายที่แตกต่างกัน และมีความสลับซับซ้อนของปัญหาที่ แตกต่างกันออกไป ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านข้อมูลสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานทาง กายภาพเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของแต่ละเมืองเองก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ภาพ/ข่าว : อภิราม ทามแก้ว
ที่มา : หน่วยวิจัยและพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ

SDGs: 11 GOAL11-เมืองและชุมชนยั่งยืน (Sustainable cities and communities)