MSU Sustainability Development Goals (SDGs)

นักวิจัย มมส คว้ารางวัลระดับนานาชาติ จากงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567 ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป ผู้จัดการศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมงานประกาศรางวัลการประกวดและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ซึ่งเป็นการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติที่สำคัญที่สุดในโลก โดยมีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานจากนานาประเทศทั้งจากทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการมากกว่า 1,000 ผลงาน จากกว่า 40 ประเทศ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 – 21 เมษายน 2567 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล พร้อมกล่าวแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และมอบรางวัล NRCT Special Award 2024 แก่ผลงานที่มีความโดดเด่น โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  พร้อมด้วย ผู้บริหารของกระทรวง อว. ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักประดิษฐ์ และนักวิจัยจาก 37 หน่วยงาน โดยนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคามคว้ารางวัล NRCT Special Award 2024 ผลงานโดดเด่น ในครั้งนี้ด้วย

โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 3 ผลงาน และคว้า 4 รางวัลระดับโลกบนเวที “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ได้แก่

รางวัลเหรียญทอง GOLD MEDAL และ รางวัลรางวัล NRCT NRCT SPECIAL AWARD For the Outstanding Invention and Innovation at the International Exhibition (National research council of thailand) ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ : Phytomelatonin production through seed germination under salinity stress with exogenous melatonin addition: Novel food material for producing novel dietary supplements, functional food ingredients, and functional foods ผลงานการประดิษฐ์ โดย ศาสตราจารย์ ดร. อนุชิตา มุ่งงาม สังกัดคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ : Imitated rice forming machine from various flours ผลงานการประดิษฐ์โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ณัฐพล ภูมิสะอาด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ละมุล วิเศษ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ : A Finger Strength Training Kit for Physical Therapists and Practitioners of Applied Thai Traditional Medicine ผลงานการประดิษฐ์โดย  อาจารย์ ดร.ปริญญ์ ชุปวา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสร วงศ์เกษม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา ลีลานันทกุล สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ในโอกาสนี้ ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (UIC) พร้อมให้การสนับสนุนการวิจัย สนับสนุนนักวิจัยและเตรียมความพร้อมนักวิจัย มมส สู่มาตรฐานสากล นักวิจัยสามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนในแผนงานต่าง ๆ ได้ที่  ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารกลุ่มงานวิจัยและปฏิบัติการชั้น 1 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ที่มา : ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม

# ด้านการวิจัย (Research)

SDGs: 4 GOAL4-การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality education)