มมส จัดอบรม “การเขียนรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) และรายงานการประเมินตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA Version 4.0” ระยะที่ 2 ครั้งที่ 3 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ด้วยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบแนวทางการยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร โดยปีการศึกษา 2565 ทุกหลักสูตรประเมินตนเองด้วยเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (IQA) โดยเน้นการเขียนเป้าหมายและผลลัพธ์ตามแนวทาง AUN-QA ปีการศึกษา 2566 ทุกหลักสูตรประเมินตนเองด้วยเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (IQA) ตามแบบฟอร์ม AUN-QA และ ปีการศึกษา 2567 ทุกหลักสูตรประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน AUN-QA
วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2567) กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการอบรม “การเขียนรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) และรายงานการประเมินตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA Version 4.0” ระยะที่ 2 ครั้งที่ 3 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ (SC3-302) ชั้น 3 อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีรองศาสตราจารย์.ดร. อรวิชญ์ กุมพล รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและพัฒนาองค์กรดิจิทัล เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดโครงการฯ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลลภา ลีลานันทกุล ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ปองพล พงไธสงค์ และ อาจารย์ ดร. ภคมน ธนทัศกิตติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าร่วมโครงการฯจำนวนกว่า 110 คน
มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ของ สปอว. (IQA) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 – ปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 10 ปีแล้วนั้น ทั้งนี้ กฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้ระบุให้สถาบันอุดมศึกษาต้องมีระบบการประกันคุณภาพผลลัพธ์การเรียนรู้จริงของทุกหลักสูตรการศึกษา ในแต่ละระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และติดตามประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ อีกทั้ง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 จะส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนของประเทศให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที และการให้ความเป็นอิสระแก่สภาสถาบันอุดมศึกษาในการบริหารจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยการประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและเตรียมความพร้อมให้หลักสูตรสามารถใช้เกณฑ์ AUN-QA เป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพหลักสูตรและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ของหลักสูตร (มคอ.7) ตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ได้ อีกทั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 มีมติเห็นควรให้มีแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตร โดยการจัดโครงการอบรมการเขียน มคอ.7 ตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 สำหรับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย จานวน 190 หลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรนำร่องฯ 14 หลักสูตร) จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567),ครั้งที่ 2 สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567), ครั้งที่ 3 สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567),และครั้งที่ 4 สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ(วันที่ 7 มีนาคม 2567) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนสิชา แก้วนันไชย,อาจารย์ ดร. หนึ่งฤทัย จันทรคามิ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์, อาจารย์ ดร. นคร ประดิษฐ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ปองพล พงไธสงค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลลภา ลีลำนันทกุล,อาจารย์ ดร. ภคมน ธนทัศกิตติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ และอาจารย์สุวรรณา แม่นปืน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถอย่างยิ่งและเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร พัฒนาผู้ประเมินฯ ระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร
ภาพ/ข่าว : อภิราม ทามแก้ว
ที่มา : กองแผนงาน
SDGs: 4 GOAL4-การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality education)