MSU Sustainability Development Goals (SDGs)

มมส ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Plasma Technology

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Plasma Technology ระหว่างวันที่ 5 - 9 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้กับผู้สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนการจัดงานภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลาสมาอย่างยั่งยืน หรือ Hub of Talents for Plasma Technology

โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์  ประมวล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นประธานกล่าวต้อนรับและ มี รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ แดงติ๊บ ผู้จัดการศูนย์วิศวกรรมและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ชั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน

สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Plasma Technology มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและบุคลากรจากสถาบันการศึกษา / สถาบันวิจัย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีพลาสมาและการประยุกต์ใช้ อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายวิจัยด้านเทคโนโลยีพลาสมาร่วมกัน โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมกว่า 30 คน ทั้งจากภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ PTT Exploration and Production Public Company Limited (PTTEP), Prince of Songkla University, Maejo University, Srinakharinwirot University, KMITL, Khon Kaen University, Science and Technology Park (CMU), King Mongkut’ s University of Technology North Bangkok (KMUTNB), Loei Rajabhat University, Institute for Plasma Research (India), Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT), Mahidol University, Mahidol Wittayanusorn School, Suranaree University of Technology, and Mahasarakham University

ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ฉิ่งสูงเนิน หัวหน้าหน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลาสมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดการฝึกอบรมจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ Anode Layer Ion Source, Magnetron Sputtering, RF Discharge (Capacitively Coupled Plasma), Atmospheric Pressure Plasma, Plasma Nitriding และ Plasma DC - Glow Discharge Tube เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรม เข้าใจทฤษฎีพื้นฐาน การออกแบบ และการประดิษฐ์แหล่งกำเนิดไอออนของชั้นแอโนด ผลกระทบของแรงดันใช้งานต่อฟังก์ชันการกระจายพลังงานไอออน ลักษณะของส่วนประกอบของระบบการเคลือบแมกนีตรอนสปัตเตอร์ริ่ง ลักษณะของส่วนประกอบของระบบการเคลือบแมกนีตรอนสปัตเตอร์ริ่ง พร้อมทั้งการวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ เช่น ความหนาแน่นและความหนา โดยใช้เทคนิคการสะท้อนรังสีเอกซ์ ตลอดจนทำความเข้าใจพื้นฐานและการประยุกต์ของพลาสมาความดันบรรยากาศ เรียนรู้การใช้ออปติคัลสเปกโตรมิเตอร์เพื่อวัดและวิเคราะห์การปล่อยแสงจากพลาสมา  อีกทั้งการศึกษากระบวนการไนไตรดิ้งที่ใช้ในการปรับปรุงความแข็งผิวของเหล็ก

ภาพ/ข่าว : อภิราม  ทามแก้ว
ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์

SDGs: 4 GOAL4-การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality education) 17 GOAL17-หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Partnership for the Goals)